กรดไขมันโอเมก้า-3 ทำอะไรให้คุณได้บ้าง

กรดไขมันโอเมก้า-3 ทำอะไรให้คุณได้บ้าง

กรดไขมันโอเมก้า-3 เป็นส่วนประกอบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของปลาและน้ำมันจากปลา อีพีเอ (EPA : กรดไอโคซาเพนทาโนอิก) และดีเอชเอ (DHA : กรดด็อกโคซาเฮกซาโนอิก) ไขมันดีเหล่านี้มีอยู่ในไข่ด้วย แต่ปริมาณน้อยกว่า และมีการค้นพบว่า ไขมันโอเมก้า-3 อาจมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาที่ยอดเยี่ยมมาก  วิณพา จะพามาดูกันค่ะ

ประโยชน์ดีๆของกรดไขมันโอเมก้า-3 

  • ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นอันตราย ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันและเส้นเลือดในสมองแตก
  • ช่วยป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ลดความหนืดของเกล็ดเลือด และลดปริมาณสารไฟบรินในเลือดจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด
  • ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม และอาจช่วยในการรักษาด้วย
  • ช่วยบรรเทาอาการคันและแห้งของโรคสะเก็ดเงิน
  • ลดการต่อต้านเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ช่วยในการลดความถี่และความรุนแรงของโรคปวดศรีษะไมเกรน
  • ต่อต้านผลร้ายจากสารโพรสต้าแกลนดิน (ซึ่งลดภูมิต้านทานและเพิ่มการเติบโตของเนื้องอก) และช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม
  • ช่วยป้องกันเรื่องหลอดเลือดแดงแข็ง
  • ช่วยให้ผิว ผม และเล็บมีสุขภาพดี
  • ช่วยบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

หากคุณไม่ชอบปลาหรือไม่สามารถรับประทานปลาได้สม่ำเสมอ อาจจะเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันปลาหรือฟิชออยล์แทนก็ได้ น้ำมันจากปลาทะเลเข้มข้นประมาณ 10 แคปซูล มักจะมีอีพีเออยู่ 1.8 กรัม (แซลมอน 4 ออนซ์จะมีอีพีเอประมาณ 1 กรัม) กรดแอลไลโนเลนิก (เอแอลเอ) ซึ่งพบมากในเมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท และเมล็ดฟักทอง ก็จัดเป็นแหล่งโอเมก้า-3 ที่ดีเช่นกัน

ข้อควรระวัง: การรับประทานโอเมก้า-3 เสริมอาหารในปริมาณสูง อาจทำให้บางคนเกิดอาการฟกช้ำหรือเลือดออกง่ายจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย  ผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดการฟกช้ำหรือเลือดออกง่ายจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย  ผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดการฟกช้ำหรือเลือดออกง่ายควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ หากคุณกำลังรับประทานร่วมกับวิตามินอีในปริมาณที่สูงอาจส่งผลให้เลือดออกภายในได้ หากคุณกำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น คูมาดินหรือเฮปาริน ไม่ควรรับประทานโอเมก้า-3 นอกเสียจากว่าแพทย์ของคุณแนะนำ ถึงแม้ว่าปลาบางชนิดจะมีโอเมก้า-3 สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะรับประทานปลาชนิดนั้นในปริมาณมาก ปลาใหญ่ที่กินปลาอื่นเป็นอาหารจะมีสารปรอทสะสมในปริมาณสูง

ปลาที่ควรหลีกเลี่ยง :  ปลาฉลาม ปลากระโทงแทงดาบ ปลาอินทรี ปลาไทล์ฟิช ปลาทูน่า ปลามาลิน ปลาฮาลิบัต ปลาวอลล์อาย ปลาจำพวกกะพงปากกว้าง ปลาสำลีน้ำลึก และปลาเก๋า

ปลาที่ควรรับประทาน : ปลาซาร์ดีน แซลมอน กุ้ง ปลานิลทะเล ปลาดุกทะเล หอยกาบ และหอยนางรม (โดยทั่วไปสัตว์ที่มีเปลือกจะมีปรอทต่ำ)

ข้อเสียจากการขาดโอเมก้า-3 : ผู้ที่ได้รับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ โดยอาจมีผิวหนังสาก หยาบ หรือมีลักษณะลอกเป็นเกล็ด รวมทั้งเกิดผื่นแดง บวม และทำให้เกิดอาการระคายเคือง