น้ำตาล ทานมากเกินไปเป็นอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว

น้ำตาล ทานมากเกินไปเป็นอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว

น้ำตาล ทานมากเกินไปเป็นอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว

น้ำตาล ถึงแม้จะมีรสชาติหวาน แต่ก็ส่งผลร้ายกับร่างกายได้มากมายจนคาดไม่ถึง ใครที่ติดใจรสชาติหวานของน้ำตาลละก็ ควรรู้เป็นอย่างยิ่งค่ะ

ปัญหาใหญ่ของน้ำตาลก็คือ พวกเรารับประทานมันมากเกินไป (คนละมากกว่า 154 ปอนด์ในแต่ละปี) และบ่อยครั้งที่เราไม่รู้ตัวเองเลย อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้ความหวานทั้งหมดจัดว่าเป็นน้ำตาลแม้ว่าเราจะเรียกชื่ออื่น เช่น ในซีเรียลหนึ่งกล่องอาจจะมีซูโครสเป็นส่วนประกอบอันดับสาม คอร์นไซรับเป็นส่วนประกอบอันดับห้า และน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบอันดับเจ็ด คุณอาจจะไม่รู้ตัวเลยว่า แท้จริงแล้วคุณกำลังรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลประกอบอยู่ราวร้อยละ 50

ผู้บริโภคทุกวันนี้ตกหลุมพรางของน้ำตาลตั้งแต่เริ่มแรก อาหารสูตรสำหรับเด็กทารกส่วนใหญ่มักเติมรสหวานด้วยน้ำตาล เช่นเดียวกับอาหารเด็กเล็ก(ควรอ่านฉลากก่อน) เนื่องจากน้ำตาลทำหน้าที่เป็นทั้งสารกันเสียและสารดูดซับความชื้น มันจึงมักถูกใส่ลงในผลิตภัณฑ์ที่เราไม่คาดคิดว่าจะมี เช่น เกลือ เนยถั่วลิสง ผักกระป๋อง และซุปก้อน คุณเชื่อไหมว่าซอสมะเขือเทศที่คุณใส่ลงบนแฮมเบอร์เกอร์นั้นมีน้ำตาลน้อยกว่าไอศกรีมเพียงร้อยละ 8 และคุณเชื่อไหมว่าครีมที่เติมลงในกาแฟมีน้ำตาลอยู่ร้อยละ 65 ในขณะที่ช็อกโกแลตแท่งมีน้ำตาลอยู่ร้อยละ 51

ความเป็นจริง คือ พวกเรากำลังรับประทานน้ำตาลมากเกินกว่าที่สุขภาพของเราจะรับได้ เป็นเรื่องที่ไม่มีข้อโต้แย้งแต่อย่างใดว่าน้ำตาลเป็นปัจจัยหลักของโรคฟันผุ อีกทั้งโรคอ้วนซึ่งหนึ่งในสามของประชากรบนโลกกำลังเผชิญโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในถุงน้ำดี ปวดหลัง และข้ออักเสบ น้ำตาลไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุหลักของความอ้วน น้ำตาลในอาหารยังกระตุ้นให้คุณรับประทานมากขึ้น และหากคุณลดปริมาณแคลอรีที่รับประทานในแต่ละวัน โดยไม่ลดปริมาณน้ำตาลที่รับประทานลง คุณจะสูญเสียสารอาหารไปเร็วกว่าน้ำหนักตัว น้ำตาลยังเป็นปัจจัยทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ก่อให้เกิดเบาหวานและโรคหัวใจอีกด้วย

มันหวานเพียงใด...จึงจะพอ 

น้ำตาลแฝงคือน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในอาหารที่คุณไม่คาดคิด หากคุณต้องการเป็นตำรวจตรวจจับน้ำตาล ขอแนะนำให้เริ่มจากการอ่านฉลาก ควรมองหาสารที่ใส่แทนน้ำตาล เช่น คอร์นไซรัปหรือน้ำตาลข้าวโพด และมองหาคำที่ลงท้ายเสียง -โอส (-ose) ซึ่งมักเป็นสารในกลุ่มน้ำตาล น้ำตาลไม่ว่าจะชื่ออะไรก็ยังเป็นน้ำตาล และไม่เว้นแม้แต่ยาก็ยังถูกเติมรสหวานลงไป !

9 เคล็ดลับ ช่วยลดปริมาณน้ำตาลให้ร่างกาย

  • ชิมอาหารทุกครั้ง ก่อนจะเติมน้ำตาลเพิ่ม
  • ไม่ควรทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • เรียนรู้วิธีอ่านฉลากโภชนาการข้างผลิตภัณฑ์
  • รู้จักชื่อน้ำตาลต่าง ๆ อาทิ กากน้ำตาล มอลท์ไซรัป น้ำตาลอ้อย ฯลฯ รวมถึงสารอาหารที่ลงท้ายด้วย “โ-ส” หรือ “ose” เช่น กลูโคส ฟรุกโตส เป็นต้น
  • ไม่ควรเติมและบริโภคน้ำตาลต่อวันเกินปริมาณที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
  • ค่อย ๆ ลดปริมาณน้ำตาลที่ทานทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว
  • หันมาใช้วานิลลา ซินนามอน หรือผิวเลมอนขูดละเอียดเพื่อเติมรสหวานให้อาหาร
  • ทานโปรตีนและอาหารที่มีเส้นใยที่จะช่วยให้คุณอิ่มได้นานกว่า
  • เลือกทานผลไม้สด แทนที่จะดื่มน้ำผลไม้หรือสมูทตี้