เรื่องของ อาหารเสริม คุณรู้ดีแค่ไหน??

เรื่องของ อาหารเสริม , อาหารเสริม สุขภาพ

เรื่องของ อาหารเสริม คุณรู้ดีแค่ไหน??

        เรื่องของ อาหารเสริม คุณทานแล้ว รู้จักมันแค่ไหน?? ซึ่งอาหารเสริมเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างร่างกาย เมื่อบริโภคอาหารในแต่ละวันไม่ครบ 5 หมู่ ซึ่งปัจจุบันการเติบโตของวงการอาหารเสริม ค่อนข้างโตอย่างรวดเร็ว โดยพบว่าประเทศที่บริโภคอาหารเสริมเยอะที่สุด คือสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยเองก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อาหารเสริมโดยทั่วไป จะมีหลักๆ ดังนี้ 

  • ผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ : อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้มีการผลิตขึ้นมาแพร่หลายเป็นเวลานานมากแล้ว และเป็นที่นิยมในกลุ่มคนทั่วไป โดยการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้มักจะหวังผลเพื่อให้ร่างกายของเรามีประสิทธิภาพดีขึ้น ทนต่อภาวะความเครียด ความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงานได้ อาหารเสริมเหล่านี้มักจะประกอบไปด้วยวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆของร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ สารสกัดต่างๆ ที่โฆษณาว่าช่วยในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ
  • ผลิตภัณฑ์บำรุงสมอง : อาหารเสริมชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปยังนักเรียนนักศึกษาที่ต้องเรียนหนักใช้สมองมาก เวลาพักผ่อนน้อย ลดอาหารเหนื่อยล้าและบรรเทาความเครียด อาหารพวกนี้ก็จะเป็นพวกน้ำมันปลา ใบแปะก๊วย วิตามินบี และอื่นๆอีกมากมาย ข้อควรระวังในการเลือกซื้อคือควรซื้ออาหารเสริมที่ได้รับพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าได้ผลจริง เพราะส่วนใหญ่อาหารเสริมประเภทนี้จะมีราคาสูง
  • ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม : ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผิวพรรณ ริ้วรอยแห่งวัย ผิวหมองคล้ำ ผิวขาดความชุ่มชื่น นำไปสู่สุขภาพผิวที่ไม่ดี ซึ่งอาหารเสริมจะมีสารสกัดต่างๆที่ช่วยเฉพาะด้าน เช่น คอลลาเจน กลูต้า มะเขือเทศ เป็นต้น แต่ไม่ได้หมายถึงทานแล้วจะขาวใสทันทีภายใน 1 วัน เพราะแท้จริงแล้ว สีผิวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การทานอาหารเสริมเป็นเพียงตัวช่วยเสริมเท่านั้น
  • ผลิตภัณฑ์เพื่อลดน้ำหนัก : แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 4 ประเภทคือ กลุ่มที่ช่วยลดการดูดซึมไขมัน กลุ่มที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน กลุ่มที่ช่วยดึงแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงานและกลุ่มอาหารไขมันต่ำ
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับระบบภายใน : ผู้หญิงเรามักมีปัญหาภายในอย่างเรื่องประจำเดือนมาผิดปกติ รวมถึงเรื่องกลิ่น และระดูขาว ซึ่งเป็นปัญหามากต่อการดำเนินชีวิต แต่ในปัจจุบันเรามักใช้สารสกัดจากธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารเสริม ซึ่งปลอดภัย ไม่สะสมในร่างกายอีกด้วย

         อาหารเสริมถือเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญ เมื่อร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ หรือเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร เช่น เลือดออกตามไรฟัน ผิวหนังเป็นจ้ำสีม่วง เหน็บชา โรคกระดูกอ่อน ฯลฯ หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการดูดซึมสารอาหาร ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ที่กินอาหารแบบมังสวิรัติ รวมทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงสุขภาพสูง เช่น ลักษณะงานอยู่ในสภาพที่มีมลพิษ ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่จัด เป็นต้น แต่ก็ควรเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพอายุ สภาพร่างกาย และใช้อย่างถูกชนิด ซึ่งแพทย์และเภสัชกรจะเป็นผู้ให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ดีที่สุด

ข้อควรระวังเมื่อใช้อาหารเสริม

       ผู้ที่ใช้อาหารเสริม ควรศึกษาถึงปริมาณการกินของสารอาหารแต่ละชนิดด้วยว่า มีระดับในการบริโภคที่ปลอดภัยอย่างไร จึงจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง  บางชนิดอาจต้องเว้นระยะการกินเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ซึ่งจะมีการระบุปริมาณที่แนะนำให้กินต่อวัน (RDAหรือ DRI) ไว้บนฉลากว่าไม่ควรกินติดต่อกันกี่วัน เป็นต้น

       การบริโภคที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือ การกินวิตามินเสริมก่อนหรือหลังอาหารทันที เพื่อให้สารอาหารเข้าสู่กระบวนการดูดซึมพร้อมกับอาหารหลักที่เรากินเข้าไป อย่างไรก็ตามอาหารเสริมบางชนิด หากกินมากเกินไปยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ได้  ซึ่งผู้บริโภคควรศึกษาปริมาณการรับประทานให้ดี และเจ้าของแบรนด์เอง ก็ต้องระบุสรรพคุณ วิธีการใช้ให้ครบ ทั้งนี้อาหารเสริม ไม่ใช่ยา จึงไม่ได้รักษาให้ร่างกายสมบูรณ์ 100% เป็นเพียงตัวเสริมเท่านั้น และผลที่เกิดขึ้นอาจไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล เพราะสภาพร่างกายคนเราก็มีภาวะดูดซึมไม่เท่ากันอีก

ปริมาณการบริโภคให้ปลอดภัย

  • วิตามินเอ ปริมาณที่ปลอดภัยคือวันละ  10,000 IU หากได้รับเกินกว่านี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์  คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตามข้อ ผิวหนังแห้ง
  • วิตามินซี  ปริมาณที่ปลอดภัยคือวันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • วิตามินอี ไม่ควรกินเกินวันละ 1,000 IU
  • แคลเซียม ปริมาณที่ปลอดภัยคือ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หากได้รับมากเกินไปอาจทำให้คลื่นไส้ ท้องผูก เฉื่อยชา ซึมเศร้า เกิดนิ่วหรือมีการสะสมตัวของแคลเซียมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ
  • เหล็ก ปริมาณที่ปลอดภัยคือ 75 มิลลิกรัมต่อวัน หากรับมากเกินไปอาจรบกวนการดูดซึมแคลเซียม สังกะสี เพิ่มความเสี่ยงโรคตับ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เบตาแคโรทีน ปริมาณที่ปลอดภัยคือวันละ 25 มิลลิกรัม และไม่ควรกินเกินวันละ 50 มิลลิกรัม
  • โฟลิตแอซิด ไม่ควรกินเกินวันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน ยังไม่กำหนดปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้อย่างปลอดภัย แต่การรับมากเกินไปอาจทำให้ผิวหนังร้อนแดง เป็นผื่นคันและทำลายตับได้
  • ซีลีเนียม ไม่ควรกินเกิน 200 ไมโครกรัมต่อวัน หากรับในปริมาณมากอาจทำให้เล็บผิดรูปร่างและผมร่วงได้