การขอ อย. อาหารเสริม ใครอยากสร้างแบรนด์ต้องรู้ !!

การขอ อย, ขั้นตอนการขอ อย.

การขอ อย. อาหารเสริม ใครอยากสร้างแบรนด์ต้องรู้ !!

     ใครที่ตอนนี้คิดจะสร้างแบรนด์ คงต้องคิดดีๆ ไม่ใช่อยากสร้างอะไรแค่มีเงินอย่างเดียวแล้วจะทำได้ เพราะปัจจุบันมีกฎหมายควบคุมเรื่องยา และอาหารเสริม อย่างชัดเจนมากขึ้น และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้มากกว่าในอดีต หากทำผิดเล็กน้อยก็จะเป็นที่จับตามองของนักเลงคีย์บอร์ด ซึ่งการควบคุมที่เข้มงวดนี้ถือเป็นผลประโยชน์ที่ดีต่อผู้บริโภคทุกคน ดังนั้น การขอ อย. อาหารเสริม จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการอาหารเสริมไม่ควรมองข้าม

    สำหรับผู้บริโภค ก็ควรรู้ให้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมที่อาจถูกหลอกจากนักธุรกิจหัวหมอ ที่หวังเอาแต่กำไรโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และในฐานะผู้ประกอบการ ก็ควรทำตามกฎให้ถูกต้อง และต้องขอ อย. ก่อนขายสินค้า ทั้งนี้ต้องยื่นข้อมูลตัวผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับที่เราทำการโฆษณา และต้องจำไว้เสมอว่า ต้องไม่โฆษณาเกินจริง จนทำให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค และกรณีทำเรื่องขอ อย. จะต้องผ่านกระบวนการควบคุม กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อความโปร่งใสที่สุด

    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำกับ ดูแลคุณภาพและมาตรฐานการผลิต การนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 6 ประเภท ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย (ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางการสาธารณสุข) วัตถุเสพติด (วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและยาเสพติดให้โทษ) ให้มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยต่อการใช้และการบริโภค ซึ่งขอบข่ายการทำงานจะประกอบด้วย การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด (Pre-marketing Control) และการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาด (Post-marketing Control) ตลอดจนการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพและการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม (ขึ้นทะเบียนอย.) : เพื่อความรวดเร็วท่านควรเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ (2 ชุด)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ (2 ชุด)
  3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล(เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคลล) (2 ชุด)  
  4. สำเนา ภพ.20(เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือบริษัท(กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ)
  6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือบริษัท
  7. แผนผังภายในร้าน หรือบริษัท ระบุสถานที่ผลิต, บรรจุ, เก็บสินค้า ให้ชัดเจน 
  8. สินค้าตัวอย่าง พร้อมฉลาก 2 ชุด

ขั้นตอนการขอ อย.

  1. ผู้ประกอบการยื่นคำขอ ต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอและเอกสารประกอบ
  3. ตรวจประเมิน GMP (Good Manufacturing practices Certification)
  4. เสนอหัวหน้างานพิจารณาอนุญาติ และทำการพิจารณา
  5. หากอนุญาติ เจ้าหน้าที่ธุรการจะออกหนังสือรับรอง
  6. หากไม่อนุญาต เจ้าหน้าที่จะแจ้งเพื่อแก้ไขต่อผู้ประกอบการ เพื่อนำส่งใหม่ในครั้งถัดไป