อยากสวยสุขภาพดีมี มาตรฐาน ต้องศึกษา ถ้าไม่อยากมีดราม่าทีหลัง!!!

อยากสวยสุขภาพดีมี มาตรฐาน ต้องศึกษา ถ้าไม่อยากมีดราม่าทีหลัง!!!

อยากสวยสุขภาพดีมี มาตรฐาน ต้องศึกษา ถ้าไม่อยากมีดราม่าทีหลัง!!!

หลังจากปรากฏข่าวสะเทือนวงการอาหารเสริมและความงาม ว่าตำรวจมีหมายจับเครือข่ายอาหารเสริมแบรนด์ดังที่ไม่มีอย. อีกทั้งยังไม่ได้ มาตรฐาน สากล เหตุนี้ วิณพา จึงอยากให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่รวมไปถึงผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญและควรศึกษาเรื่องมาตรฐานให้แม่นย้ำเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้บริโภคต่อไปค่ะ

อาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพจะต้องมีการควบคุมการผลิตโดยมีหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ปัจจุบันประเทศไทยถูกผลักดันจากนานาชาติให้ผู้ผลิตอาหารต้องนำระบบ GMP/HACCP/ISO มาใช้ในการควบคุมการผลิตเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อการันตีว่าสินค้าได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย ทั้งนี้มาตรฐานแต่ละอย่างมีความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดย "GMP" คือระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติและพิสูจน์แล้วจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกว่า สามารถทำให้อาหารเกิดความปลอดภัย และเป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ทั้งหมด ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน มีเนื้อหาครอบคลุม 6 ประการ คือ

  • บุคลากร
  • การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
  • การสุขาภิบาล
  • การควบคุมกระบวนการผลิต
  • เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต
  • สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต

HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) หมายถึง ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก เพื่อรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร โดย “HACCP” เป็นมาตรฐานที่เน้นควบคุมดูแลตั้งแต่กระบวนการผลิตจนกระทั่งผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภคเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการคัดเลือกวัตถุดิบ การผลิต และการขนส่ง จึงสามารถป้องกันอันตราย รวมทั้งสารปนเปื้อนในอาหารได้ เช่น อันตรายทางชีวภาพ อันตรายทางเคมี อันตรายทางกายภาพ และอันตรายจากการจัดเก็บไม่ถูกต้อง

โดยหลักการของระบบ HACCP ประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญ 7 ประการ คือ

  1. การวิเคราะห์อันตราย จากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่อาจมีต่อผู้บริโภค
  2. การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต ในกระบวนการผลิตให้อยู่ในค่า หรือลักษณะที่กำหนดไว้ ซึ่งจะลดการเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นได้
  3. การกำหนดค่าวิกฤต ณ จุดควบคุมวิกฤต เพื่อให้แน่ใจว่าจุดควบคุมวิกฤต อยู่ภายใต้การควบคุม
  4. ทำการเฝ้าระวัง โดยกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ มีแผนการตรวจสอบ หรือเฝ้าสังเกตการณ์ และบันทึกข้อมูล
  5. กำหนดมาตรการแก้ไข สำหรับข้อบกพร่อง และใช้มาตรการนั้นทันที กรณีที่พบว่า จุดควบคุมวิกฤตไม่อยู่ภายใต้ การควบคุม
  6. ทบทวนประสิทธิภาพ ของระบบ HACCP ที่ใช้งานอยู่ รวมทั้งใช้ผล การวิเคราะห์ทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการพิจารณา
  7. จัดทำระบบบันทึก และเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต

ISO (International Organization for Standardization) เป็นองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศจนเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล โดยตัวเลขที่ต่อท้าย ISO จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงแนวทางและวิธีการบริหารองค์กรที่แตกต่างกันออกไป

ISO 9001 คือ ระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System: QMS) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่กำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการ             ผลิต การติดตั้ง และการบริการ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีของการดำเนินงานภายในองค์กร โดยจะมีการควบคุมและตรวจสอบขั้นตอน รวมถึงวิธีการทำงานผ่านระบบอย่างละเอียด เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้           กับองค์กร ดังนั้น ISO 9001 จึงเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมจากองค์กรทั่วโลก จนกลายเป็นเงื่อนไขและข้อกำหนดทางการค้าในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงเป็นสิ่งที่ยืนยันคุณภาพมาตรฐานในการค้าระดับสากลอีก         ด้วย ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กรมีดังนี้

  • มีการบริหารเชิงกลยุทธและการบริหารความเสี่ยงจากบริบทและความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
  • มีการจัดการกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีคุณภาพสินค้าที่ดีสม่ำเสมอและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • มีระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น
  • มีการจัดการความรู้ขององค์กร
  • เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
  • เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • มีโครงสร้างมาตรฐานที่บูรณาการ (Integrate) มาตรฐานต่างๆได้ง่ายมากขึ้น

บริษัท วิณพา จำกัด ถือเป็นอีกหนึ่งโรงงานที่ได้รับมาตรฐานของ GMP/HACCP/ISO จึงส่งผลทำให้บริษัทของเราได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการที่อยากจะเป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นและความไว้วางใจว่าทุกสินค้าที่ผลิตออกจากบริษัท วิณพา มีความปลอดภัยและได้รับการยอมรับจากมาตรฐานสากล จึงทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่หันมาผลิตสินค้า OEM กับบริษัทของเรามากขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริษัทของเราเพียงอย่างเดียว แต่ลูกค้าควรจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรงงานที่รับผลิตประกอบกับศึกษาเรื่องมาตรฐานต่างๆ ที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปัจจุบันจะต้องมีมาเบื้องต้นก่อนตัดสินใจผลิต และเพื่อเป็นการป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากโรงงานที่ไม่ได้รับมาตรฐาน ดังนั้น "การตระหนักในเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคมากกว่าสิ่งอื่นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ควรมี จึงจะสามารถเอาชนะใจผู้บริโภคสมัยใหม่ได้"  มาตรฐานทั้ง 3 ประเภทนี้ของเราถูกประเมินโดยสถาบัน SGS ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองจากนานาประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า อาหารเสริมที่ผลิตภายใต้บริษัทวิณพา สามารถส่งออกและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศได้