ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ มาตรฐาน มาดีก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง!!

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ มาตรฐาน มาดีก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง!!

อยากเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ดีมี มาตรฐาน ศึกษาไว้มีชัยไปกว่าครึ่ง!!

มาตรฐาน คำนี้เมื่อได้ยินที่ไหนย่อมทำให้ผู้ที่ได้ยินมีความเชื่อใจและไว้ใจว่าตนเองจะได้รับความปลอดภัยจากสิ่งๆ นั้น เช่นเดียวกับวงการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ในปัจจุบันมีอยู่มากมายในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าที่ขายปลีกต่างๆ ทำให้สะดวกสบายในการซื้อหามารับประทาน แต่สินค้าบางชิ้นบางผลิตภัณฑ์ก็มักจะโฆษณาเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคที่เลือกซื้อเป็นอันตราย เราจึงต้องมี มาตรฐาน ในการรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค เหตุนี้ วิณพา จึงอยากให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่เตรียมพร้อมและศึกษาเรื่องมาตรฐานให้แม่นยำเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้บริโภคต่อไปค่ะ

อาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพจะต้องมีการควบคุมการผลิตโดยมีหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ปัจจุบันประเทศไทยถูกผลักดันจากนานาชาติให้ผู้ผลิตอาหารต้องนำระบบ GMP/HACCP/ISO มาใช้ในการควบคุมการผลิตเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อการันตีว่าสินค้าได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย ทั้งนี้มาตรฐานแต่ละอย่างมีความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้

GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดย "GMP" คือระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติและพิสูจน์แล้วจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกว่า สามารถทำให้อาหารเกิดความปลอดภัย และเป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ทั้งหมด ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน มีเนื้อหาครอบคลุม 6 ประการ คือ

  1. บุคลากร
  2. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
  3. การสุขาภิบาล
  4. การควบคุมกระบวนการผลิต
  5. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต
  6. สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต

HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) หมายถึง ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก เพื่อรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร โดย “HACCP” เป็นมาตรฐานที่เน้นควบคุมดูแลตั้งแต่กระบวนการผลิตจนกระทั่งผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภคเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการคัดเลือกวัตถุดิบ การผลิต และการขนส่ง จึงสามารถป้องกันอันตราย รวมทั้งสารปนเปื้อนในอาหารได้ เช่น อันตรายทางชีวภาพ อันตรายทางเคมี อันตรายทางกายภาพ และอันตรายจากการจัดเก็บไม่ถูกต้อง

โดยหลักการของระบบ HACCP ประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญ 7 ประการ คือ

  • การวิเคราะห์อันตราย จากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่อาจมีต่อผู้บริโภค
  • การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต ในกระบวนการผลิตให้อยู่ในค่า หรือลักษณะที่กำหนดไว้ ซึ่งจะลดการเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นได้
  • การกำหนดค่าวิกฤต ณ จุดควบคุมวิกฤต เพื่อให้แน่ใจว่าจุดควบคุมวิกฤต อยู่ภายใต้การควบคุม
  • ทำการเฝ้าระวัง โดยกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ มีแผนการตรวจสอบ หรือเฝ้าสังเกตการณ์ และบันทึกข้อมูล
  • กำหนดมาตรการแก้ไข สำหรับข้อบกพร่อง และใช้มาตรการนั้นทันที กรณีที่พบว่า จุดควบคุมวิกฤตไม่อยู่ภายใต้ การควบคุม
  • ทบทวนประสิทธิภาพ ของระบบ HACCP ที่ใช้งานอยู่ รวมทั้งใช้ผล การวิเคราะห์ทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการพิจารณา
  • จัดทำระบบบันทึก และเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต

ISO (International Organization for Standardization) เป็นองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศจนเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล โดยตัวเลขที่ต่อท้าย ISO จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงแนวทางและวิธีการบริหารองค์กรที่แตกต่างกันออกไป

 ISO 9001 คือ ระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System: QMS) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่กำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีของการดำเนินงานภายในองค์กร โดยจะมีการควบคุมและตรวจสอบขั้นตอน รวมถึงวิธีการทำงานผ่านระบบอย่างละเอียด เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับองค์กร ดังนั้น ISO 9001 จึงเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมจากองค์กรทั่วโลก จนกลายเป็นเงื่อนไขและข้อกำหนดทางการค้าในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงเป็นสิ่งที่ยืนยันคุณภาพมาตรฐานในการค้าระดับสากลอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กรมีดังนี้

  •  มีการบริหารเชิงกลยุทธ์และการบริหารความเสี่ยงจากบริบทและความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
  •  มีการจัดการกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  •  มีคุณภาพสินค้าที่ดีสม่ำเสมอและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  •  มีระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น
  •  มีการจัดการความรู้ขององค์กร
  •  เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
  •  เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  •  มีโครงสร้างมาตรฐานที่บูรณาการ (Integrate) มาตรฐานต่างๆได้ง่ายมากขึ้น

บริษัท วิณพา จำกัด ถือเป็นอีกหนึ่งโรงงานที่ได้รับมาตรฐานของ GMP/HACCP/ISO จึงส่งผลทำให้บริษัทของเราได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการที่อยากจะเป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นและความไว้วางใจว่าทุกสินค้าที่ผลิตออกจากบริษัท วิณพา มีความปลอดภัยและได้รับการยอมรับจากมาตรฐานสากล จึงทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่หันมาผลิตสินค้า OEM กับบริษัทของเรามากขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริษัทของเราเพียงอย่างเดียว แต่ลูกค้าควรจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรงงานที่รับผลิตประกอบกับศึกษาเรื่องมาตรฐานต่างๆ ที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปัจจุบันจะต้องมีมาเบื้องต้นก่อนตัดสินใจผลิต และเพื่อเป็นการป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากโรงงานที่ไม่ได้รับมาตรฐาน ดังนั้น "ารตระหนักในเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคมากกว่าสิ่งอื่นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ควรมี จึงจะสามารถเอาชนะใจผู้บริโภคสมัยใหม่ได้"  มาตรฐานทั้ง 3 ประเภทนี้ของเราถูกประเมินโดยสถาบัน SGS ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองจากนานาประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า อาหารเสริมที่ผลิตภายใต้บริษัทวิณพา สามารถส่งออกและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศได้