อาหารเค็ม กับดักร้ายที่แฝงในชีวิตประจำวันของคุณ

อาหารเค็ม,โทษของการกินอาหารเค็ม,ข้อเสียของการกินเค็มมากเกินไป

อาหารเค็ม กับดักร้ายที่แฝงในชีวิตประจำวันของคุณ

อาหารเค็ม นั้นบั่นทอนสุขภาพจริงหรือ บ่อยครั้งที่เราต้องยอมรับว่าอาหารที่มีรสชาติจืดเรามักไม่อยากรับประทาน เครื่องปรุงส่วนใหญ่จึงถูกนำมาใช้ ในระยะหลังคนเรามีการบริโภคเกลือสูงขึ้น จึงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น และเมื่อร่างกายได่รับเกลือมากเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายฉับพลันจากภาวะบวมน้ำได้ และการทานอาหารเค็ม มากอาจก่อให้เกิดความเสียงต่อการเกิดโรคไต

การรับประทานเกลือปริมาณแต่พอเหมาะถือว่าดีต่อสุขภาพ แต่การรับประทานเกลือมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างแน่นอน ปริมาณที่เรารับประทานกันปกติคือ 6 - 18 กรัม แต่สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาให้แนะนำการจำกัดการบริโภคเกลือวันละ 3 กรัม (3,000 มก.) หากว่าทานมากกว่า 14 กรัม ถือว่ามากเกินไป และพวกเราหลายคนก็รับประทานมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการที่คุณห่างจากขนมคบเคี้ยวและไม่เทเกลือลงในอาหาร ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้รับเกลือมากเกินไป กับดักอาหารเค็มนั้นพรางตัวได้อย่างแนนเนียนพอกันกับดักน้ำตาลเลยทีเดียว

หากคุณจำกัดการรับประทานเกลือให้น้อยลง ควรปฏิบัติดังนี้

  • ลดการดื่มเบียร์ (มีเกลือถึง 25 มก. ในเบียร์ 12 ออนซ์)
  • หลีกเลี่ยงการใช้เบกิ้งโซดา ผงชูรส และผงฟูในการทำอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย ซึ่งส่วนใหญ่มีโซเดียมเป็นส่วนผสม
  • อย่าใช้น้ำที่ผ่านการเติมสารลดความกระด้างมาทำอาหารหรือดื่ม เพราะเป็นน้ำที่ผ่านการเติมโซเดียมลงไปแล้ว
  • มองหาคำว่าเกลือ (salt) หรือโซเดียม (sodium) หรือสัญลักษณ์ทางเคมี Na บนฉลากอาหาร
  • ระวังการดื่มน้ำมะเขือเทศ ซึ่งมีแคลอรี่ต่ำ แต่เกลือโซเดียมสูง
  • อย่ารับประทานเนื้อสำเร็จรูป เช่น แฮม เบคอน คอร์นบีฟ ไส้กรอก รวมไถึงเนื้อสัตว์น้ำประเภทมีเปลือก อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เนื้อสัตว์ปีกหรือปลาที่ผ่านการเติมโซเดียมแล้ว
  • หากรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรสั่งเนื้อที่ตัดจากส่วนในหรือเนื้อติดซี่โครง และไม่โรยเกลือบนสเต๊กอีก
  • ระวังการดื่มน้ำอัดลมแบบไดเอต ซึ่งอาจจะมีแคลอรี่ต่ำ แต่ในหลายชนิดยังมีเกลือโซเดียมสูง
  • ควรระลึกอยู่เสมอว่า ในขนมปังที่ขายกันส่วนใหญ่เพียงสองชิ้น (แม้แต่ขนมปังแบบลดน้ำหนักหรือแบบโฮลวีต) อาจมีเกลือได้ถึง 230 มก.

การรับประทานเกลือมากไปทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และเมื่อไม่นานมานี้ มีการค้นพบด้วยว่าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรนได้ เกลือที่มากเกินส่งผลให้มีน้ำคั่ง ทำให้มีอาการมึนศีรษะและขาบวม และยังทำให้เราสูญเสียแร่ธาตุโพแทสเซียมไปกับปัสสาวะ และขัดขวางการนำอาหารประเภทโปรตีนไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาล่าสุดพบว่าการรับประทานเกลือโซเดียมในอาหารมาก ซึ่งส่งผลในอัตราส่วนโพแทสเซียมต่อโซเดียมต่ำลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ชาย

 

ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการบริโภคเกลือ

  • ขอบคุณข้อมูลจาก วิตามินไบเบิล
  • ดร.เอร์ล มินเดลล์ : เขียน
  • พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล : แปล