ฮาลาล เรื่องไม่เล็ก…ที่เราใส่ใจ!!

ฮาลาล เรื่องไม่เล็ก...ที่เราใส่ใจ!!

ฮาลาล เรื่องไม่เล็ก...ที่เราใส่ใจ!!

เครื่องหมาย ฮาลาล หรือเลขฮาลาลคืออะไร? ทำไมต้องเป็นฮาลาล? แล้วไม่ใช่อิสลามหรือมุสลิมทานได้หรือไม่? จริงๆ หลายคนจะไม่เคยสังเกตสัญลักษณ์หรือตราฮาลาลบนผลิตภัณฑ์อุปโภค บริโภคกันสักเท่าไร่ แต่แท้ที่จริงแล้วทุกคนคงคุ้นตากันอยู่แบบไม่รู้ตัว..วันนี้ วิณพา จึงอยากมาไขข้อสงสัยกันค่ะว่า เจ้าตัวฮาลาลมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

จากเหตุการณ์ที่มีข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ที่มีการแชร์ข้อมูลอ้างอิงถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อหนึ่ง มีเครื่องหมายฮาลาลแต่เมื่อไปค้นหาในเว็บกลับไม่พบข้อมูลผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยกันไปต่างๆนานา ว่าผลิตภัณฑ์นี่มีความปลอดภัยหรือไม่อย่างไร และหลังจากที่มีการแชร์ข้อมูลออกไป ทางด้านของผู้ประกอบการได้มีการดำเนินการออกมาชี้แจ้งรายละเอียดพร้อมด้วยหลักฐานเอกสารต่างๆ พบว่ามีการจดทะเบียนเลขฮาลาลจริง แต่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลชื่อผลิตภัณฑ์จึงทำให้เลขฮาลาล ไม่แสดงผลบนหน้าระบบ ผู้ประกอบการยังชี้แจงต่ออีกว่า ระบบอยู่ในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเพราะบริษัทมีการเปลี่ยนสูตรของสินค้าตัวนี้ จึงทำให้ต้องของเลขฮาลาลใหม่ ทั้งนี้ที่เราหยิบเรื่องนี้มายกตัวอย่างนั้นก็เพื่อที่จะให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของเลขฮาลาล มากยิ่งขึ้น

ฮาลาลเป็นคำที่มาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใดๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “เครื่องหมายฮาลาล” คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหารหรืออุปโภคสินค้าได้โดยสนิทใจ เราจะสามารถสังเกตุผลิตภัณฑ์ว่าเป็นฮาลาลหรือไม่นั้นได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เป็นสำคัญ

ขั้นตอนการยื่นขอ เลขฮาลาล

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการ

  • ผู้ประกอบการยื่นความจำนงขอรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล
  • ที่ปรึกษาโครงการตรวจประเมินและให้คำปรึกษาแนะ
  • จัดอบรมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบการ
  • ผู้ประกอบการจัดทำระบบเอกสารและกระบวนการผลิตตามมาตรฐานอาหารฮาลาล
  • ผู้ประกอบการเตรียมเอกสารตามที่สถาบันฯ กำหนด
  • ที่ปรึกษาจัดทำรายงานสรุปการปรึกษาโครงการฯ

ขั้นตอนที่ 2 ยื่นคำขอและพิจารณาคำขอ

  • ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับการตรวจรับรองต่อสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท) หรือสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด(สกอจ) แล้วแต่กรณี (ตามหัวข้อเอกสารเพื่อขอรับรองฮาลาล)
  • เจ้าหน้าที่ตรวจความถูกต้องของเอกสารที่ประกอบคำขอแล้วนำเสนอสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
  • เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
  • จ่ายค่าธรรมเนียม
  • นัดหมายการตรวจสอบสถานประกอบการ

ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบสถานประกอบการ

  • คณะผู้ตรวจสอบ ไปตรวจโรงงาน/สถานประกอบการ ตามที่นัดหมาย
  • ประชุมชี้แจงร่วมกันระหว่าง คณะผู้ตรวจสอบของฝ่ายกิจการฮาลาลกับฝ่ายสถานประกอบการ ก่อนดำเนินการตรวจสอบ
  • ฝ่ายสถานประกอบการ นำคณะผู้ตรวจสอบพิจารณา กระบวนการ ผลิต วัตถุดิบ สถานที่ผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา สถานที่จำหน่าย ฯลฯ
  • คณะผู้ตรวจสอบให้คำแนะนำแก่ผู้ยื่นคำขอ เมื่อเห็นว่า ผู้ประกอบการ ดำเนินการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อบกพร่อง เพื่อจะได้ ดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
  • คณะผู้ตรวจสอบรายงานผลให้คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลพิจารณา

ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาผลการตรวจสอบและให้หนังสือรับรอง

  • เรียกเอกสารหรือผลวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น
  • คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลแจ้งผลพิจารณาของคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการ อิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ขอรับรองฮาลาลทราบ
  • ในกรณีที่คณะกรรมการฯให้การรับรอง เมื่อผู้ขอรับรอง ฮาลาล ทำสัญญายอมรับ ปฏิบัติตามเงื่อนไข การรับรอง และการชำระค่าธรรมเนียมแล้ว คณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดจึงออกหนังสือรับรองฮาลาล ให้แก่ผู้ขอ โดยมีอายุการรับรองไม่เกินหนึ่งปี
  • ผู้ขอซึ่งได้หนังสือรับรองฮาลาลแล้ว และมีความประสงค์ ขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล คณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทยจะ ออกหนังสือสำคัญ ให้ใช้ เครื่องหมายรับรองฮาลาลแก่ผู้ขอ เมื่อผู้ขอชำระ ค่าธรรมเนียม แล้ว

ขั้นตอนที่ 5 การติดตามและประเมินผล

  • ดำเนินการติดตามและกำกับดูแลสถานประกอบการ ซึ่งได้รับรองฮาลาล และหรือให้ใช้เครื่อง หมายรับรองฮาลาล ให้ปฏิบัติตามสัญญาและระเบียบอย่างเคร่งครัด 
  • ฝ่ายกิจการฮาลาลตรวจสอบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต สถานประกอบการ และการให้บริการ ที่ได้รับ อนุญาตแล้ว โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า เป็นระยะตามความเหมาะสม
  • ฝ่ายกิจการฮาลาลรายงานผลการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบหรือพิจารณา

วิธีสังเกตเลข ฮาลาล ง่ายๆเบื้องต้น

เครื่องหมายฮาลาลที่ถูกต้อง ตามระบบการรับรองของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังรูป

winnapa34

คำว่า “ฮาลาล” ภาษาอาหรับ ในสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมีพื้นหลังเป็นแถบเส้นตรงแนวดิ่ง

  1. ชื่อองค์กรรับรอง “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือ “The Central Islamic Committee of Thailand”หรือเป็นภาษาอาหรับ (ได้ทั้ง 3 ภาษา) ถ้าเป็น “สำนักจุฬาราชมนตรี” แสดงว่าเป็นเครื่องหมายฮาลาลที่ไม่ผ่านการตรวจรับรอง เนื่องจากทางสำนักจุฬาราชมนตรีได้มอบหน้าที่การตรวจรับรองฮาลาลแก่สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 แล้ว
  2. หมายเลขผลิตภัณฑ์ 12 หลัก ที่ได้จากการรับรองฮาลาล ถ้าเป็นตัวเลขในระบบเก่า (ซึ่งผ่านการตรวจรับรองเช่นเดียวกัน) จะใช้ลำดับที่ของบริษัท ตามด้วยปีที่เริ่มขอรับรอง “ที่ ฮ.ล. 025/2547”

เว็บไซต์ที่สามารถเข้าไปตรวจสอบเลขฮาลาล ได้

http://www.halal.co.th/index.php?mod=investigate_halal

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์

messageImage_1525760201793

ทั้งนี้มาตรฐานของฮาลาลถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในนามของ บริษัท วิณพา จำกัด ซึ่งเรามีนโยบายในการยื่นขอเลขฮาลาลให้แก่ลูกค้า เราจึงอยากให้ลูกค้าหรือผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานต่างๆ ที่วงการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพึ่งมี เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก และเพื่อเป็นการป้องกันอีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ลูกค้าท่านใดที่ผลิตสินค้า OEM กับโรงงานของเรา เรากล้ารับประกันได้ว่า มาตรฐานทุกตัวที่ทางเรามีการดำเนินยื่นขออนุญาตให้ท่านนั้น ดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างถูกต้องทุกกระบวนการ และเราพร้อมยินดีให้การตรวจสอบหากเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น เพราะเราเชื่อว่าโรงงานของเรา "ปลอดภัย มั่นใจ ใส่ใจทุกขั้นตอนด้วยหลักการนี้จึงทำให้เราครองใจผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากว่า 15 ปี แล้วนี้ก็คือส่วนหนึ่งของความใส่ใจในมาตรฐานต่างๆ จนทำให้หลายๆ คนไว้ใจ เชื่อใจ ให้เราเป็นโรงงานผลิตอาหารเสริมในใจทุกคนเสมอมา...