ใช้ชีวิตอยู่กับ โควิด19 ยังไงให้ปลอดภัย

โควิด19,วิธีป้องกันเชื้อไวรัสโควิด19, วิธีสังเกตอาการโควิด19

ใช้ชีวิตอยู่กับ โควิด19 ยังไงให้ปลอดภัย

โควิด19 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทั่วโลกเพิ่มสูงกว่า 2,770 ราย ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเกิน 81,000 รายแล้ว วันนี้ วิณพา จะพาไปดูวิธีรับมือกับเชื้อไวรัสนี้กันค่ะ

จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19(COVID-19) นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า หากประกาศโรคโควิด19 เป็นโรคติดต่ออันตรายมีผลบังคับใช้ จะดำเนินการตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งจะมีการกำหนดว่าประชาชน ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด เช่น โรงแรม จะต้องรายงานแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เมื่อมีผู้ต้องสงสัยหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่ออันตราย โดยจะต้องให้ข้อมูลเป็นจริง หากไม่แจ้งจะมีโทษปรับ 2 หมื่นบาท ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลตามความจริง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงกับอาการป่วย และสร้างความปลอดภัย ป้องกันบุคคลอื่นไม่ให้ติดโรค

 

นายแพทย์โสภณ ยังอธิบายต่อว่า มีคำสำคัญ 3 คำตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 คือ

1. แยกกัก ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยที่มีเชื้อแล้วจะต้องนำเข้าแยกกักในห้องแยกโรคความดันเป็นลบ

2. กักกัน เป็นคนที่ยังไม่ป่วยแต่มีโอกาสได้รับเชื้อ จึงจำเป็นต้องให้คนดังกล่าว กักกันอยู่ในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งอาจจะเป็นที่บ้านของคนผู้นั้นเองก็ได้ เป็นเวลาครบ 14 วัน ซึ่งจากการดำเนินการเช่นนี้ในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่ผ่านมา มีเพียง 2 % ที่เป็นเสี่ยงสูงแพร่เชื้อ และอีก 98 % เป็นคนปกติ แต่ที่ต้องมีความดำเนินการเพื่อความปลอดภัย

3.คุมไว้สังเกตอาการ ซึ่งเป็นผู้สัมผัสที่ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วย แต่จะต้องคุมไว้สังเกตอาการจนครบ 14 วัน โดยให้อยู่ที่บ้าน แต่จะต้องมีการติดตามอาการทุกวัน วัดไข้ และเมื่อป่วยให้ไปพบแพทย์ เช่น กรณีปู่ย่าหลาน คนในไฟลท์บิน คนที่จัดเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงคือคนที่นั่ง2 แถวหน้า-หลังของผู้ป่วย ส่วนคนร่วมไฟลท์คนอื่น ถือเป็นเสี่ยงต่ำ แต่ต้องคุมไว้สังเกตอาการ

มาดูวิธีการสังเกตอาการของไวรัสชนิดนี้กันคะ

หากได้รับเชื้อไวรัส โควิด19 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกัน (เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดังนี้)

  • เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
  • เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรค และเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
  • ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
  • ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
  • งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  • เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  • ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
  • ควรดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลังจากกลับจากต่างประเทศภายใน 14 วัน หากมีอาการป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และแจ้งรายละเอียดว่าเราเคยไปต่างประเทศมาแม้ว่าประเทศนั้นจะไม่มีการติดเชื้อก็ตาม

คําแนะนําเพิ่มเติม

  1. ในช่วงเวลานี้ควรงดเข้าร่วมกิจกรรมทุกชนิด หรือลางานและไปพบแพทย์หากตนเองมีอาการป่วนของโรคระบบทางเดินหายใจทันที
  2. ก่อนไปทำงานหรือร่วมกิจกรรมนอกบ้านทุกชนิด ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยพร้อมกับแอลกอฮอล์แบบเจลให้ เพียงพอสำหรับตัวเองนอกจากนี้ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ควรการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน
  3. หากพบว่าตนเองมีอาการป่วยตามเกณฑ์ ควรรีบติดต่อขอเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอน  โรงพยาบาลที่รับตรวจCovid-19  และหากอาการป่วยเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินหายใจควรงดเข้าร่วมกิจกรรมและลางานทันที
  4. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการโรคในระบบทางเดิน หายใจที่ไม่ป้องกันตนเอง หรือกลุ่มที่พึงกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

สุดท้ายนี้ “อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป” และอย่าลืมติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ควรตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดก่อนจะเชื่อในทันที